วันอาทิตย์ที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2556

คิดเก่ง. ทำเป็น



“การศึกษาคือกระบวนการที่ทำให้คนและสังคมเจริญงอกงาม ยิ่งเรียนยิ่งขยัน ยิ่งเรียนยิ่งอดทน ยิ่งเรียนยิ่งซื่อสัตย์ ยิ่งเรียนยิ่งมีความกตัญญู ยิ่งเรียนยิ่งรักปู่ย่าตายาย ดูแลปู่ย่าตายาย ไปไหนก็ดูแลซึ่งกันและกัน บ้านเมืองก็จะมีแต่ความสุข” 

เนื้อหาในส่วนนี้ได้รวบรวมสาระ แนวคิด บทความของท่าน ดร.โกวิท วรพิพัฒน์ ที่เป็นผู้ให้นิยาม คำว่า คิดเป็น"กระบวนการคิดเพื่อตัดสินใจ" โดยใช้ข้อมูล 3 ด้าน คือ ข้อมูลส่วนตัว ข้อมูลทาง สังคมหรือสิ่งแวดล้อม และข้อมูลทางวิชาการ ปรัชญา "คิดเป็น" มีรายละเอียดและสาระที่น่าศึกษา 

คิดเก่งทำเป็น
ตามแนวคิด ดร. โกวิท วรพิพัฒน์ 
"คิดเป็น มาจากแนวคิดที่ว่า ธรรมชาติของมนุษย์ ทุกคนต้องการความสุข คนคิดเป็นจะสามารถดำรงชีวิต ให้พบความสุขได้"


ในเรื่องการทำให้เด็กของเรา "คิดเก่ง ทำเป็น" นี้ เป็นจุดเน้นที่เด่นชัดมาก ในเวทีความคิดของคณะศึกษา ดร.โกวิท วรพิพัฒน์ ได้ชี้ว่า ปัจจุบันแนวคิดเรื่องการให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติมากๆ นั้น ก็มีอยู่ในโรงเรียนทั่วไป หากยังเป็นแนวคิดที่ยังไม่ได้นำไปสู่การปฏิบัติอย่างจริงจัง หรือลึกซึ้งพอเพียง ซึ่งท่านมองว่ารูปแบบการศึกษาที่จะทำให้เด็กคิดเป็นและปฏิบัติเก่งด้วยนั้น ต้องมีความเข้มข้นของประสบการณ์นอกห้องเรียน อย่างเช่น โรงเรียนตัวอย่างการทำมาหากินวัดโพธิ์เฉลิมรักษ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา ซึ่งท่านชี้ว่าเป็นทิศทางการจัดการศึกษาที่ถูกต้อง สามารถช่วยเหลือเด็กๆ และชุมชนได้จริง โดยเฉพาะในแง่การเรียนรู้ ประสบการณ์การทำมาหากินที่ติดตัวเด็กไปอย่างยั่งยืน ท่านได้ชี้แจงให้คำอธิบายในเรื่องนี้ว่า
"เราต้องพยายามทำความเข้าใจกับครู ว่าการที่เด็กเรียนน้อย คือการเรียนมาก และจะรู้ลึกรู้จริง แม้เด็กจะมีเวลาเรียนในห้องเรียนน้อยลง แต่ในเวลาอื่นเขาสามารถเอาวิชาไปใช้ ซึ่งเมื่อมีการนำวิชาไปใช้มันก็จะเกิดผล เมื่อเกิดผลแล้วเขาก็จะรู้ว่าวิชาต่างๆ ที่มีอยู่ในหนังสือนั้นมีประโยชน์จริง เห็นคุณค่าของวิชาความรู้ และสามารถนำไปใช้ในการพัฒนาชีวิตจริงของเขาเองได้ 
นอกเหนือจากเรื่องกระบวนการเรียนรู้ใหม่ที่เน้นทักษะพื้นฐานในเรื่องการค้นคว้าหาความรู้ ตลอดจนการปลูกฝังด้านการคิดและการเชื่อมโยงความคิดมาสู่การปฏิบัติให้เด็กรุ่นใหม่มีทั้งความรู้ ความสามารถ ความคิดสร้างสรรค์ และทักษะปฏิบัติแล้ว อีกสิ่งหนึ่งซึ่งเป็นหัวใจสำคัญในคณะศึกษามักจะเน้นและเป็นพื้นฐานสำคัญของการเรียนรู้ยุคใหม่ทั้งหมด คือ กระบวนการเรียนรู้ที่ทำให้เด็กมีความสุขกับการเรียน ซึ่งคณะศึกษาหลายท่านมองว่าระบบการศึกษาในปัจจุบันเป็นระบบที่ทำให้เด็กมีความทุกข์ และถูกบังคับกับการเรียน ทำให้การศึกษาไม่อาจปลูกฝังความรักเรียนให้เด็กรุ่นใหม่ได้



ดร.โกวิท วรพิพัฒน์ ได้วิจารณ์ถึงเรื่องนี้ไว้ว่า "เด็กเดี๋ยวนี้ ไม่เป็นผู้เป็นคน เรียนหนังสือวันละ 7 คาบ เกือบ 7 ชั่วโมง คาบละ 50 นาที ครูคนนั้นคนนี้เข้ามา พูด ๆ สอน ๆ เดี๋ยวก็ออกไป คนใหม่เข้ามาแทน" ยิ่งไปกว่านั้น ท่านยังมองอีกว่า การสอนในโรงเรียนของเราในปัจจุบันนั้น เน้นแต่เนื้อหาทางวิชาการ เน้นแต่การบอกหนังสือให้เด็กท่องจำ ซึ่งเป็นต้นเหตุสำคัญของการทำให้เด็กเล่าเรียนอย่างไม่มีความสุข 

ทั้งๆ ที่จริงแล้ว "ในหลวงรัชกาลที่ 5 ก็เปลี่ยนชื่อโรงสอน มาเป็นโรงเรียนตั้ง 60 - 70 ปีแล้ว ไปดูโรงเรียนทั้งหลายก็ยังเป็นโรงสอนอยู่ เพราะฉะนั้นจึงไม่แปลกใจเลยว่า ทำไมเด็กของเราจึงคิดไม่เป็น เพราะการสอนส่วนใหญ่มีแต่การยัดเยียด ความรู้ การท่องบ่นความรู้ ไม่ได้เกิดการเรียนรู้ที่แท้จริง" โดยเหตุนี้ คณะศึกษาทั้งหลายท่านจึงเน้นให้รูปแบบการเรียนการสอนสมัยใหม่ ไม่เน้นหนักแต่วิชาการ แต่ให้เน้นหนักเรื่องกิจกรรมการเรียนที่เด็กสนใจ ตลอดจนเรื่องสุนทรียะต่างๆ อันเป็นทางออกของชีวิตให้แก่เด็กๆ อีกทั้งเป็นการเรียนรู้ที่เสริมบุคลิกภาพให้แก่เด็กด้วย


http://northnfe.blogspot.com/2012/07/blog-post_9244.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ความคิดเห็นจาก facebook