วันศุกร์ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

รถยนต์ตกน้ำจะทำอย่างไร.... ให้รอดชีวิต



ทำอย่างไร...เมื่อเกิดอุบัติเหตุรถยนต์ตกน้ำ...รู้ไว้....ในนาทีวิกฤต...


ให้พึงระลึกไว้เสมอว่า เรายังมีเวลาพอที่จะทำอะไรหรือแก้ไขได้ เพราะขณะที่รถยนต์ตกน้ำ (รถยนต์ส่วนบุคคลสมัยนี้เกือบ ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ มักปิดกระจกขณะขับขี่) รถจะไม่จมลงในทันทีแต่จะค่อย ๆ จมลงอย่างช้า ๆ อย่างต่อเนื่องประมาณ ๑๗ - ๒๐ วินาที ในนาทีวิกฤตนี้ ควรตั้งสติให้ดี และ ปฏิบัติดังต่อไปนี้ 



1. ปลด SAFETY BELT ออกทุกๆคน รวมทั้งผู้โดยสารด้วย 

2. อย่าออกแรงใดๆ เพื่อสงวนการใช้อากาศหายใจซึ่งมีอยู่เป็นจำนวนจำกัด 
3. ให้ยกส่วนศีรษะให้สูงเหนือระดับน้ำที่ค่อยๆ เพิ่มขึ้นในรถ 
4. ปลดล็อกประตูรถทุกบาน 
5. หมุนกระจกให้น้ำไหลเข้าในรถเพื่อปรับความดันในรถและนอกรถให้เท่ากัน มิฉะนั้นท่านจะเปิดประตูรถไม่ออก เพราะน้ำจากภายนอกตัวรถจะดันประตูไว้ 
6. เมื่อความดันใกล้เคียงกันแล้วให้ผลักบานประตูออกให้กว้างสุด แล้วท่านก็ออกจากห้องโดยสารของรถได้ 
7. จากนั้นท่านอาจจะปล่อยตัวให้ลอยขึ้นเหนือน้ำตามธรรมชาติ หรือจะว่ายน้ำขึ้นมาก็ได้ 



ปล. หากเป็นรถที่ใช้ระบบไฟฟ้า การทำงานจะขัดข้องจนไม่สามารถเปิดกระจกได้ ให้ใช้ค้อนเหล็ก หรือของแข็งที่มีอยู่ในรถทุบกระจกด้านข้างให้แตก ไม่ควรทุบกระจกหน้าหรือหลัง เพราะเป็นกระจกนิรภัยจะแตกยากกว่า



ในกรณีนี้หากน้ำลึกมากๆ อาจจะมองไม่เห็นว่าทิศใดเหนือน้ำ ทิศใดใต้น้ำเพราะว่า มืดไปหมด ไม่ควรใช้วิธีว่ายน้ำ เพราะอาจจะว่ายไปในทิศทางที่ไม่ขึ้นเหนือน้ำ กรณีเช่นนี้ควรปล่อยตัวให้ลอยขึ้นตามธรรมชาติ หรือลองเป่าปากดูว่าฟองอากาศลอยไปในทิศทางใด ให้ว่ายน้ำไปในทิศทางที่ฟองอากาศลอยไป ก็จะไม่มีอาการหลงน้ำ นอกจากนั้นก่อนออกจากรถหากท่านมีผู้โดยสารที่เป็นเด็กๆ อาจจะหนีบเด็กๆ นั้นออกมากับท่านได้อีกหนึ่งคน ดังนั้นหากท่านปฏิบัติตามวิธีการเหล่านี้ ก็จะช่วยให้ชีวิตของท่านปลอดภัยได้ในยามคับขัน 



อยากให้ ทุกคนแชร์ให้เพื่อนๆ และคนรู้จักให้มากๆเลยนะ เป็นการช่วยเหลือกันหากเกิดอุบัติเหตุเช่นนี้ขึ้นมา การมีความรู้ในขั้นตอนในการควบคุมยานยนต์ และการปฏิบัติตนในขณะเกิดอุบัติเหตุเช่นนี้ สามารถช่วยลดอัตราการตายและการบาดเจ็บได้แน่นอน ถ้าจะให้ดีพริ้นเก็บไว้ในรถของทุกคนเลยก็ดีนะจะได้เอาไว้อ่านทบทวนกันได้ ขอให้ทุกคน ขับรถอย่างปลอดภัย ไม่เกิดอุบัติเหตุใดๆ
(ข้อมูล จาก Fanpage-Marketing)

วันพุธที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2556

คิดเป็น เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตและสังคม


“การศึกษาคือกระบวนการที่ทำให้คนและสังคมเจริญงอกงาม ยิ่งเรียนยิ่งขยัน ยิ่งเรียนยิ่งอดทน ยิ่งเรียนยิ่งซื่อสัตย์ ยิ่งเรียนยิ่งมีความกตัญญู ยิ่งเรียนยิ่งรักปู่ย่าตายาย ดูแลปู่ย่าตายาย ไปไหนก็ดูแลซึ่งกันและกัน บ้านเมืองก็จะมีแต่ความสุข” 

เนื้อหาในส่วนนี้ได้รวบรวมสาระ แนวคิด บทความของท่าน ดร.โกวิท วรพิพัฒน์ ที่เป็นผู้ให้นิยาม คำว่า คิดเป็น"กระบวนการคิดเพื่อตัดสินใจ" โดยใช้ข้อมูล 3 ด้าน คือ ข้อมูลส่วนตัว ข้อมูลทาง สังคมหรือสิ่งแวดล้อม และข้อมูลทางวิชาการ ปรัชญา "คิดเป็น" มีรายละเอียดและสาระที่น่าศึกษา 

การศึกษาเพื่อความเข้มแข็งของชุมชน : บนฐานภูมิปัญญาและการมี ส่วนร่วมของประชาชน
ตามแนวคิด ดร. โกวิท วรพิพัฒน์ 

"คิดเป็น มาจากแนวคิดที่ว่า ธรรมชาติของมนุษย์ ทุกคนต้องการความสุข คนคิดเป็นจะสามารถดำรงชีวิต ให้พบความสุขได้"

กระแสความคิดที่ชัดเจนของคณะศึกษาอีกประการหนึ่ง นั่นคือ การใช้การศึกษาเป็นเครื่องมือในการเสริมสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจสังคมให้แก่ชุมชน ท้องถิ่นทั่วประเทศ ซึ่งในระยะเวลาที่ผ่านมานั้น ทิศทางการพัฒนาประเทศเป็นการพัฒนาแบบรวมศูนย์ เป็นการพัฒนาที่มุ่งหวังแต่ความเจริญในระดับมหภาค จนทำให้ชุมชนชนบท ซึ่งคนพี่น้องชาวไทยของเรากว่า ร้อยละ 70 ยังใช้เป็นฐานในการดำรงชีวิต ถูกมองเป็นเพียงฐานวัตถุดิบและสายพานลำเลียงแรงงานเข้าสู่เมืองใหญ่ การพัฒนาประเทศที่ผ่านมาในรอบ 30 - 40 ปีจึงกลายเป็นการพัฒนาที่ค่อยๆ ทำให้ชนบทอ่อนแอลงเป็นลำดับ ทั้งในแง่กำลังคนและในแง่ศักยภาพการผลิต


แนวคิดใหม่ของการพัฒนาจึงเน้นการพลิกฟื้นความเข้มแข็งของชุมชน ให้มีขีดความสามารถในการผลิตและแข่งขันได้ด้วยตนเอง เน้นรูปแบบเศรษฐกิจพอเพียงตามกระแสพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ให้ชุมชนท้องถิ่นต่างๆ พึ่งตนเองได้ในแง่ปัจจัยการดำรงชีวิต และในขณะเดียวกันก็สามารถที่จะมีขีดความสามารถในการผลิตเพื่อขายได้ในระดับหนึ่งด้วย

ปัจจัยสำคัญในการพัฒนาระบบเศรษฐกิจพอเพียง ให้บังเกิดขึ้นในชุมชนท้องถิ่นทั่วประเทศไทยได้นั้น ก็คงหนีไม่พ้นปัจจัยเรื่องกำลังคนเป็นสำคัญ แนวคิดของคณะศึกษาจึงมุ่งเน้นที่การผลลิตและพัฒนากำลังคนในท้องถิ่นต่างๆ ให้เป็นผู้มีความรู้ ความสามารถขั้นพื้นฐานที่จะประกอบอาชีพและดำรงชีวิตอยู่ในชนบทได้ แต่ที่สำคัญยิ่งก็คือ การปลูกฝังให้เยาวชนที่จะเติบโตขึ้นเป็นกำลังของท้องถิ่นเหล่านี้ มีความรัก มีความผูกพันต่อท้องถิ่น

ดร.โกวิท วรพิพัฒน์ เป็นผู้หนึ่งที่เน้นรูปแบบการศึกษายุคใหม่ที่ปลูกฝังความรัก ความผูกพันกับท้องถิ่นให้แก่เด็กๆ และในขณะเดียวกันก็ให้ทักษะความรู้ความสามารถเพื่อที่เด็กเหล่านี้จะเติบโตขึ้น เป็นกำลังการผลิตที่เก่งกล้าสามารถได้ ไม่ว่าจะอยู่ในท้องถิ่นห่างไกลเพียงใด ท่านกล่าวถึงเรื่องนี้ว่า "การเรียนจะให้รักถิ่นได้ มันต้องมีความรู้สึกว่า ถิ่นเรานี้เลี้ยงเราได้ เรามีเกียรติเพราะอยู่ในถิ่นของเรา สามารถที่จะไปไหนมาไหนได้ โดยที่ช่วยเหลือคนอื่นได้ ช่วยเหลือตัวเราเองได้ ขณะนี้การเรียนการสอนของเราสักแต่สอนให้รักถิ่นแต่ปาก แต่มิได้แสดงให้เด็กเห็นและเชื่ออย่างชัดเจนว่า ท้องถิ่นของเขา จะทำให้เขาอยู่รอดอย่างมีเกียรติในสังคมได้อย่างไร"



ดร.โกวิท กล่าววิจารณ์เรื่องนี้ต่อไปว่า "เดี๋ยวนี้บัณฑิตจบใหม่ ก็ไม่กลับไปบ้านตัวเอง ไม่ไปช่วยพัฒนาท้องถิ่นของตนเอง เป็นปรากฏการณ์ธรรมดาที่เห็นรุ่นแล้วรุ่นเล่า เพราะงานการดีๆ มีแต่ในเมืองหลวง นักศึกษาเดี๋ยวนี้ก็เล่าเรียนกันแต่เรื่องสภาพของเมืองหลวง ไม่ค่อยได้เรียนเกี่ยวกับชนบท เกี่ยวกับท้องถิ่นของตนเอง ที่จริงเมืองอยู่ได้ด้วยชนบท และชนบทก็อยู่ได้เพราะเมือง เพราะฉะนั้นการเรียนจึงจำเป็นต้องเรียนเกี่ยวกับท้องถิ่น ให้รู้ในสิ่งที่ใกล้ตัวเองก่อน รู้เกี่ยวกับความเป็นมาของท้องถิ่น ปัญหาของท้องถิ่น เรียนรู้คู่ไปกับการลองทำจริงๆ ให้เห็นโอกาสและความหวังในท้องถิ่นของตนเอง จากนั้นค่อยไปเรียนเรื่องไกลตัวเรื่องเมือง ก็จะทำให้คนคนนั้นเป็นคนที่มีความรู้รอบตัว สามารถพัฒนาตนเอง อยู่ในชนบทก็ได้ หรือจะมาสานงาน สร้างงานอยู่ในเมืองก็ได้"

แนวคิดสำคัญของคณะศึกษาในการส่งเสริมเรื่องการศึกษา เพื่อความเข้มแข็งของชุมชนนั้น เน้นที่การปลุกพลังชุมชนขึ้นมาบนฐานภูมิปัญญา และการทำงานร่วมกันของคนในชุมชน ควบคู่ไปกับแนวทางการปฏิรูประบบบริหารการศึกษา ที่กระจายอำนาจการจัดการศึกษาไปสู่หน่วยงานในระดับท้องถิ่นให้มากขึ้น เพื่อให้ชุมชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดหลักสูตรการเรียนการสอน และการบริหารทรัพยากรของโรงเรียนตามสภาพ ความต้องการ ความเชื่อ ตลอดจนรากเหง้าทางวัฒนธรรม อันเป็นเอกลักษณ์ของชุมชนในท้องถิ่นนั้นๆ เอง


วันอาทิตย์ที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2556

คิดเก่ง. ทำเป็น



“การศึกษาคือกระบวนการที่ทำให้คนและสังคมเจริญงอกงาม ยิ่งเรียนยิ่งขยัน ยิ่งเรียนยิ่งอดทน ยิ่งเรียนยิ่งซื่อสัตย์ ยิ่งเรียนยิ่งมีความกตัญญู ยิ่งเรียนยิ่งรักปู่ย่าตายาย ดูแลปู่ย่าตายาย ไปไหนก็ดูแลซึ่งกันและกัน บ้านเมืองก็จะมีแต่ความสุข” 

เนื้อหาในส่วนนี้ได้รวบรวมสาระ แนวคิด บทความของท่าน ดร.โกวิท วรพิพัฒน์ ที่เป็นผู้ให้นิยาม คำว่า คิดเป็น"กระบวนการคิดเพื่อตัดสินใจ" โดยใช้ข้อมูล 3 ด้าน คือ ข้อมูลส่วนตัว ข้อมูลทาง สังคมหรือสิ่งแวดล้อม และข้อมูลทางวิชาการ ปรัชญา "คิดเป็น" มีรายละเอียดและสาระที่น่าศึกษา 

คิดเก่งทำเป็น
ตามแนวคิด ดร. โกวิท วรพิพัฒน์ 
"คิดเป็น มาจากแนวคิดที่ว่า ธรรมชาติของมนุษย์ ทุกคนต้องการความสุข คนคิดเป็นจะสามารถดำรงชีวิต ให้พบความสุขได้"


ในเรื่องการทำให้เด็กของเรา "คิดเก่ง ทำเป็น" นี้ เป็นจุดเน้นที่เด่นชัดมาก ในเวทีความคิดของคณะศึกษา ดร.โกวิท วรพิพัฒน์ ได้ชี้ว่า ปัจจุบันแนวคิดเรื่องการให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติมากๆ นั้น ก็มีอยู่ในโรงเรียนทั่วไป หากยังเป็นแนวคิดที่ยังไม่ได้นำไปสู่การปฏิบัติอย่างจริงจัง หรือลึกซึ้งพอเพียง ซึ่งท่านมองว่ารูปแบบการศึกษาที่จะทำให้เด็กคิดเป็นและปฏิบัติเก่งด้วยนั้น ต้องมีความเข้มข้นของประสบการณ์นอกห้องเรียน อย่างเช่น โรงเรียนตัวอย่างการทำมาหากินวัดโพธิ์เฉลิมรักษ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา ซึ่งท่านชี้ว่าเป็นทิศทางการจัดการศึกษาที่ถูกต้อง สามารถช่วยเหลือเด็กๆ และชุมชนได้จริง โดยเฉพาะในแง่การเรียนรู้ ประสบการณ์การทำมาหากินที่ติดตัวเด็กไปอย่างยั่งยืน ท่านได้ชี้แจงให้คำอธิบายในเรื่องนี้ว่า
"เราต้องพยายามทำความเข้าใจกับครู ว่าการที่เด็กเรียนน้อย คือการเรียนมาก และจะรู้ลึกรู้จริง แม้เด็กจะมีเวลาเรียนในห้องเรียนน้อยลง แต่ในเวลาอื่นเขาสามารถเอาวิชาไปใช้ ซึ่งเมื่อมีการนำวิชาไปใช้มันก็จะเกิดผล เมื่อเกิดผลแล้วเขาก็จะรู้ว่าวิชาต่างๆ ที่มีอยู่ในหนังสือนั้นมีประโยชน์จริง เห็นคุณค่าของวิชาความรู้ และสามารถนำไปใช้ในการพัฒนาชีวิตจริงของเขาเองได้ 
นอกเหนือจากเรื่องกระบวนการเรียนรู้ใหม่ที่เน้นทักษะพื้นฐานในเรื่องการค้นคว้าหาความรู้ ตลอดจนการปลูกฝังด้านการคิดและการเชื่อมโยงความคิดมาสู่การปฏิบัติให้เด็กรุ่นใหม่มีทั้งความรู้ ความสามารถ ความคิดสร้างสรรค์ และทักษะปฏิบัติแล้ว อีกสิ่งหนึ่งซึ่งเป็นหัวใจสำคัญในคณะศึกษามักจะเน้นและเป็นพื้นฐานสำคัญของการเรียนรู้ยุคใหม่ทั้งหมด คือ กระบวนการเรียนรู้ที่ทำให้เด็กมีความสุขกับการเรียน ซึ่งคณะศึกษาหลายท่านมองว่าระบบการศึกษาในปัจจุบันเป็นระบบที่ทำให้เด็กมีความทุกข์ และถูกบังคับกับการเรียน ทำให้การศึกษาไม่อาจปลูกฝังความรักเรียนให้เด็กรุ่นใหม่ได้



ดร.โกวิท วรพิพัฒน์ ได้วิจารณ์ถึงเรื่องนี้ไว้ว่า "เด็กเดี๋ยวนี้ ไม่เป็นผู้เป็นคน เรียนหนังสือวันละ 7 คาบ เกือบ 7 ชั่วโมง คาบละ 50 นาที ครูคนนั้นคนนี้เข้ามา พูด ๆ สอน ๆ เดี๋ยวก็ออกไป คนใหม่เข้ามาแทน" ยิ่งไปกว่านั้น ท่านยังมองอีกว่า การสอนในโรงเรียนของเราในปัจจุบันนั้น เน้นแต่เนื้อหาทางวิชาการ เน้นแต่การบอกหนังสือให้เด็กท่องจำ ซึ่งเป็นต้นเหตุสำคัญของการทำให้เด็กเล่าเรียนอย่างไม่มีความสุข 

ทั้งๆ ที่จริงแล้ว "ในหลวงรัชกาลที่ 5 ก็เปลี่ยนชื่อโรงสอน มาเป็นโรงเรียนตั้ง 60 - 70 ปีแล้ว ไปดูโรงเรียนทั้งหลายก็ยังเป็นโรงสอนอยู่ เพราะฉะนั้นจึงไม่แปลกใจเลยว่า ทำไมเด็กของเราจึงคิดไม่เป็น เพราะการสอนส่วนใหญ่มีแต่การยัดเยียด ความรู้ การท่องบ่นความรู้ ไม่ได้เกิดการเรียนรู้ที่แท้จริง" โดยเหตุนี้ คณะศึกษาทั้งหลายท่านจึงเน้นให้รูปแบบการเรียนการสอนสมัยใหม่ ไม่เน้นหนักแต่วิชาการ แต่ให้เน้นหนักเรื่องกิจกรรมการเรียนที่เด็กสนใจ ตลอดจนเรื่องสุนทรียะต่างๆ อันเป็นทางออกของชีวิตให้แก่เด็กๆ อีกทั้งเป็นการเรียนรู้ที่เสริมบุคลิกภาพให้แก่เด็กด้วย


http://northnfe.blogspot.com/2012/07/blog-post_9244.html

วันอังคารที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

การศึกษาเพื่อความเข้มแข็งของชุมชน

“การศึกษาคือกระบวนการที่ทำให้คนและสังคมเจริญงอกงาม ยิ่งเรียนยิ่งขยัน ยิ่งเรียนยิ่งอดทน ยิ่งเรียนยิ่งซื่อสัตย์ ยิ่งเรียนยิ่งมีความกตัญญู ยิ่งเรียนยิ่งรักปู่ย่าตายาย ดูแลปู่ย่าตายาย ไปไหนก็ดูแลซึ่งกันและกัน บ้านเมืองก็จะมีแต่ความสุข” 

เนื้อหาในส่วนนี้ได้รวบรวมสาระ แนวคิด บทความของท่าน ดร.โกวิท วรพิพัฒน์ ที่เป็นผู้ให้นิยาม คำว่า คิดเป็น"กระบวนการคิดเพื่อตัดสินใจ" โดยใช้ข้อมูล 3 ด้าน คือ ข้อมูลส่วนตัว ข้อมูลทาง สังคมหรือสิ่งแวดล้อม และข้อมูลทางวิชาการ ปรัชญา "คิดเป็น" มีรายละเอียดและสาระที่น่าศึกษา 

การศึกษาเพื่อความเข้มแข็งของชุมชน : บนฐานภูมิปัญญาและการมี ส่วนร่วมของประชาชน
ตามแนวคิด ดร. โกวิท วรพิพัฒน์ 

"คิดเป็น มาจากแนวคิดที่ว่า ธรรมชาติของมนุษย์ ทุกคนต้องการความสุข คนคิดเป็นจะสามารถดำรงชีวิต ให้พบความสุขได้"

กระแสความคิดที่ชัดเจนของคณะศึกษาอีกประการหนึ่ง นั่นคือ การใช้การศึกษาเป็นเครื่องมือในการเสริมสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจสังคมให้แก่ชุมชน ท้องถิ่นทั่วประเทศ ซึ่งในระยะเวลาที่ผ่านมานั้น ทิศทางการพัฒนาประเทศเป็นการพัฒนาแบบรวมศูนย์ เป็นการพัฒนาที่มุ่งหวังแต่ความเจริญในระดับมหภาค จนทำให้ชุมชนชนบท ซึ่งคนพี่น้องชาวไทยของเรากว่า ร้อยละ 70 ยังใช้เป็นฐานในการดำรงชีวิต ถูกมองเป็นเพียงฐานวัตถุดิบและสายพานลำเลียงแรงงานเข้าสู่เมืองใหญ่ การพัฒนาประเทศที่ผ่านมาในรอบ 30 - 40 ปีจึงกลายเป็นการพัฒนาที่ค่อยๆ ทำให้ชนบทอ่อนแอลงเป็นลำดับ ทั้งในแง่กำลังคนและในแง่ศักยภาพการผลิต


แนวคิดใหม่ของการพัฒนาจึงเน้นการพลิกฟื้นความเข้มแข็งของชุมชน ให้มีขีดความสามารถในการผลิตและแข่งขันได้ด้วยตนเอง เน้นรูปแบบเศรษฐกิจพอเพียงตามกระแสพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ให้ชุมชนท้องถิ่นต่างๆ พึ่งตนเองได้ในแง่ปัจจัยการดำรงชีวิต และในขณะเดียวกันก็สามารถที่จะมีขีดความสามารถในการผลิตเพื่อขายได้ในระดับหนึ่งด้วย

ปัจจัยสำคัญในการพัฒนาระบบเศรษฐกิจพอเพียง ให้บังเกิดขึ้นในชุมชนท้องถิ่นทั่วประเทศไทยได้นั้น ก็คงหนีไม่พ้นปัจจัยเรื่องกำลังคนเป็นสำคัญ แนวคิดของคณะศึกษาจึงมุ่งเน้นที่การผลลิตและพัฒนากำลังคนในท้องถิ่นต่างๆ ให้เป็นผู้มีความรู้ ความสามารถขั้นพื้นฐานที่จะประกอบอาชีพและดำรงชีวิตอยู่ในชนบทได้ แต่ที่สำคัญยิ่งก็คือ การปลูกฝังให้เยาวชนที่จะเติบโตขึ้นเป็นกำลังของท้องถิ่นเหล่านี้ มีความรัก มีความผูกพันต่อท้องถิ่น

ดร.โกวิท วรพิพัฒน์ เป็นผู้หนึ่งที่เน้นรูปแบบการศึกษายุคใหม่ที่ปลูกฝังความรัก ความผูกพันกับท้องถิ่นให้แก่เด็กๆ และในขณะเดียวกันก็ให้ทักษะความรู้ความสามารถเพื่อที่เด็กเหล่านี้จะเติบโตขึ้น เป็นกำลังการผลิตที่เก่งกล้าสามารถได้ ไม่ว่าจะอยู่ในท้องถิ่นห่างไกลเพียงใด ท่านกล่าวถึงเรื่องนี้ว่า "การเรียนจะให้รักถิ่นได้ มันต้องมีความรู้สึกว่า ถิ่นเรานี้เลี้ยงเราได้ เรามีเกียรติเพราะอยู่ในถิ่นของเรา สามารถที่จะไปไหนมาไหนได้ โดยที่ช่วยเหลือคนอื่นได้ ช่วยเหลือตัวเราเองได้ ขณะนี้การเรียนการสอนของเราสักแต่สอนให้รักถิ่นแต่ปาก แต่มิได้แสดงให้เด็กเห็นและเชื่ออย่างชัดเจนว่า ท้องถิ่นของเขา จะทำให้เขาอยู่รอดอย่างมีเกียรติในสังคมได้อย่างไร"



ดร.โกวิท กล่าววิจารณ์เรื่องนี้ต่อไปว่า "เดี๋ยวนี้บัณฑิตจบใหม่ ก็ไม่กลับไปบ้านตัวเอง ไม่ไปช่วยพัฒนาท้องถิ่นของตนเอง เป็นปรากฏการณ์ธรรมดาที่เห็นรุ่นแล้วรุ่นเล่า เพราะงานการดีๆ มีแต่ในเมืองหลวง นักศึกษาเดี๋ยวนี้ก็เล่าเรียนกันแต่เรื่องสภาพของเมืองหลวง ไม่ค่อยได้เรียนเกี่ยวกับชนบท เกี่ยวกับท้องถิ่นของตนเอง ที่จริงเมืองอยู่ได้ด้วยชนบท และชนบทก็อยู่ได้เพราะเมือง เพราะฉะนั้นการเรียนจึงจำเป็นต้องเรียนเกี่ยวกับท้องถิ่น ให้รู้ในสิ่งที่ใกล้ตัวเองก่อน รู้เกี่ยวกับความเป็นมาของท้องถิ่น ปัญหาของท้องถิ่น เรียนรู้คู่ไปกับการลองทำจริงๆ ให้เห็นโอกาสและความหวังในท้องถิ่นของตนเอง จากนั้นค่อยไปเรียนเรื่องไกลตัวเรื่องเมือง ก็จะทำให้คนคนนั้นเป็นคนที่มีความรู้รอบตัว สามารถพัฒนาตนเอง อยู่ในชนบทก็ได้ หรือจะมาสานงาน สร้างงานอยู่ในเมืองก็ได้"

แนวคิดสำคัญของคณะศึกษาในการส่งเสริมเรื่องการศึกษา เพื่อความเข้มแข็งของชุมชนนั้น เน้นที่การปลุกพลังชุมชนขึ้นมาบนฐานภูมิปัญญา และการทำงานร่วมกันของคนในชุมชน ควบคู่ไปกับแนวทางการปฏิรูประบบบริหารการศึกษา ที่กระจายอำนาจการจัดการศึกษาไปสู่หน่วยงานในระดับท้องถิ่นให้มากขึ้น เพื่อให้ชุมชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดหลักสูตรการเรียนการสอน และการบริหารทรัพยากรของโรงเรียนตามสภาพ ความต้องการ ความเชื่อ ตลอดจนรากเหง้าทางวัฒนธรรม อันเป็นเอกลักษณ์ของชุมชนในท้องถิ่นนั้นๆ เอง




ภูมิปัญญาและศาสตร์ของในหลวงสู่การบริหารจัดการน้ำ และการอยู่กับสายน้ำ



ศาสตร์ของในหลวง จอมปราชญ์แห่งน้ำ
          พระอัจฉริยภาพและพระปรีชาสามารถที่เราควรจะตามรอยพระบาทพระองค์ท่าน  หากเรามองให้ลึก จากสิ่งที่พระองค์ทำ พระองค์ตรัส พระองค์ดำริ จะยิ่งเข้าใจยิ่งขึ้นว่า หลักการจัดการน้ำ ของพระองค์นั้น แท้จริงไม่ได้ซับซ้อนเป็นเรื่องยากแต่อย่างได้ แต่อยู่บนพื้นฐานของการ เฝ้าสังเกต ใส่ใจ และเพียรพยายามในการบริหารจัดการอย่างถึงแก่น

          หลักการทรงงานของในหลวง ในการบริหารจัดการน้ำ พระองค์จะศึกษาจากแผนที่  ทำการบ้านศึกษาข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง  ทรงตรวจสอบข้อมูลกับประชาชนในพื้นที่  ใช้หลักการพัฒนาจะต้องวางให้สอดคล้องกับภูมิประทศและคน  ทรงศึกษาก่อนที่จะทรงทำอะไร  ตราบใดที่ยังไม่บรรลุปรุโปร่งไม่สุดปลายของปัญหาพระองค์จะไม่ทรงหยุด  โดยเฉพาะเรื่อง “น้ำ” ทรงเตือนว่า “ระวังนะ อย่าไปรังแกธรรมชาติ หากไปรังแกมากๆ เขาจะโกรธเอา  และเขาจะทำร้ายเรา” นั่นคือทรงแนะให้เราอยู่กับน้ำตามธรรมชาติ อย่าฝืนธรรมชาติ เพราะผลกระทบที่กลับมาอาจจะเกิดความเสียหายรุนแรงได้

          ปรัชญาในการบริหารน้ำของในหลวง 

          “การพัฒนาแหล่งน้ำนั้น  ในหลักใหญ่คือ  การควบคุมน้ำให้ได้ดั่งประสงค์ทั้งปริมาณและคุณภาพ  กล่าวคือ  เมื่อน้ำมีปริมาณมากเกินไป ก็ต้องหาทางระบายออกให้ทันการณ์  ไม่ปล่อยให้เกิดความเดือนร้อนเสียหายได้  และขณะที่เกิดภาวะขาดแคลน ก็ต้องมีน้ำเก็บกักไว้ใช้อย่างพอเพียง  ทั้งมีคุณภาพเหมาะสมกับการเกษตร  การอุตสาหกรรมและการอุปโภคบริโภค  ปัญหาอยู่ที่ว่าการพัฒนาแหล่งน้ำอาจจะมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมบ้าง  แต่ถ้าไม่มีการควบคุมน้ำที่ดีพอแล้ว  เมื่อเกิดภัยธรรมชาติขึ้นก็จะก่อให้เกิดความเดือดร้อนสูญเสีย ทั้งในด้านเศรษฐกิจและในชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน  ทั้งส่งผลกระทบกระเทือนแก่สิ่งแวดล้อมอย่างร้ายแรง”    


    ก. การอนุรักษ์ต้นน้ำ
          ๑. การพัฒนาแหล่งน้ำ  ในหลวงทรงมีพระราชดำรัสในการพัฒนาแหล่งน้ำ ความว่า “...ต้นไม้ที่จะปลูกทดแทนป่าไม้ที่ถูกทำลายนั้นควรใช้ต้นไม้โตเร็วที่มีประโยชน์หลายๆ ทางคละกันไปและควรปลูกพืชคลุมแนวร่องน้ำต่างๆ เพื่อยึดผิวดินและให้เก็บรักษาความชุ่มชื้นไว้  นอกจากนั้นจะต้องสร้างฝายเล็กเพื่อหนุนน้ำส่งไปตามเหมือง  ไปใช้ในพื้นที่เพาะปลูกทั้ง ๒ ด้าน  ซึ่งจะทำให้น้ำค่อยๆ แผ่ขยายออกไปทำความชุ่มชื้นให้บริเวณนั้นด้วย...”
          การพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการอนุรักษ์พื้นที่ต้นน้ำลำธารตามแนวพระราชดำริ  เป็นการหาวิธีเก็บกักน้ำเอาไว้ในบริเวณแหล่งต้นน้ำลำธารเอาไว้ให้นานที่สุด  โดยการทดและเก็บกักน้ำที่ไหลบ่าลงมาไว้ในลำน้ำคล้ายกับอ่างเก็บน้ำขนาดเล็กโดยให้กระจายอยู่ทั่วไปตามบริเวณพื้นที่ต้นน้ำลำธาร  เพื่อให้น้ำที่เก็บกักเอาไว้ได้ซึมเข้าไปในดินตามตลิ่งและท้องน้ำ   เข้าไปเก็บอยู่ตามช่องว่างระหว่างเม็ดดิน  ทำให้ปริมาณน้ำบริเวณแหล่งต้นน้ำลำธาร  มีเพิ่มมากขึ้นซึ่งก่อให้เกิดความชุ่มชื้นของดินบริเวณนั้น  กระทั่งส่งผลทำให้ลำธารหรือลำห้วยดังกล่าวมีน้ำไหลอยู่ตลอดปีทั้งในฤดูฝนและฤดูแล้ง  ทำให้สภาพป่าต้นน้ำมีความชุ่มชื่น และอุดมสมบูรณ์อำนวยประโยชน์ต่อการทำมาหากินของชาวบ้านที่อาศัยอยู่ในเขตลุ่มน้ำนั้นๆ ได้อย่างดีและทั่วถึง

          ๒. “การปลูกป่าโดยไม่ต้องปลูก”  ในหลวงทรงคิดวิธีบริหารจัดการน้ำและการปลูกป่าด้วยวิธีง่ายๆ นั่นคือ “การปลูกป่าโดยไม่ต้องปลูก” ผืนดิน ต้นน้ำ ลำธาร ป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์ก่อเกิดพืชพรรณที่หลากหลายและเติบโตเป็นต้นไม้ใหญ่ เป็นผืนป่าอันอุดมสมบูรณ์ได้เองตามธรรมชาติ  ความช่วยเหลือที่มนุษย์ต้องช่วยธรรมชาติ คือ “เก็บกักน้ำ” เอาไว้ให้ผืนป่าดูดซับความชุ่มชื้น เป็นที่มาของ “ฝายชะลอน้ำ” ที่ไม่ต้องใช้เครื่องมือหรือเทคโนโลยีขั้นสูงใดๆ มาช่วย  ใช้เพียงแค่ดิน  ต้นไม้  ใบไม้  ซากไม้  ที่ปรักหักพังใส่เข้าไป เท่านี้ก็ได้ “ฝายดิน”  เล็กๆ ที่แข็งแรง  ทำหน้าที่เก็บกักน้ำเอาไว้  สร้างความชุ่มชื้นให้กับผืนป่าได้นานขึ้น  ทรงใช้หลักการเดียวกับ “ถุงน้ำเกลือ” ที่ส่งน้ำเกลือสู่ร่างกายที่ละหยด  ทรงคิดต่อยอดว่า  หากเกิด “ถุงน้ำเกลือ”(คือฝายดิน)  เก็บกักน้ำเป็นกระเปาะเล็กๆ หลายๆ จุดกระจายทั่วผืนป่า  ก็จะเกิดความชุ่มชื้นทั่วภูเขา ความอุดมสมบูรณ์ของป่าก็ยิ่งขยายวงกว้างมากขึ้นตามไปด้วย

          ๓. “Wet Fire Brake” ในหลวงทรงตรัสว่า Wet Fire Brake หรือ การใช้ความชื้นสกัดไฟป่า  ในป่าใบไม้ที่ร่วงทับถมกันจะมีความชื้น  จะป้องกันการเกิดไฟป่าในตัว การเก็บใบไม้ออกหมด เป็นการทำลายความชุ่มชื้นในผืนดินออกไป  ทำให้เกิดไฟป่าได้ง่ายกว่า การ Wet Fire Brake นอกจากจะให้ธรรมชาติ ได้สร้างสมดุลในตัวเองแล้ว  ความชุ่มชื้นในป่าจะทำให้ไฟป่าลดลง

          ๔.ฝายชะลอความชุ่มชื้น หรือ Check Dam  หมายถึง สิ่งก่อสร้างขวางกั้นทางเดินน้ำ เช่น ลำห้วยขนาดเล็กในบริเวณต้นน้ำ  หรือพื้นที่ที่มีความลาดชันสูง  เพื่อชะลอน้ำหรือความชุ่มชื้นให้หมุนเวียนภายในบริเวณนั้นๆ ทำให้ดินชุ่มฉ่ำ  ป่าไม้เขียวขจีและกระจายความชุ่มชื้นไปยังบริเวณโดยรอบ  ทั้งเป็นแนวป้องกันไฟป่า ชะลอน้ำที่เชี่ยวกรากในฤดูน้ำหลาก  กักเก็บตะกอนหรือหน้าดินไม่ให้ไหลลงลุ่มน้ำตอนล่าง   
             ฝายชะลอความชุ่มชื้น  มี ๒ ประเภท คือ ฝายรักษาความชุ่มชื้น และฝายดักตะกอน  แบ่งออกเป็น ๓ แบบ คือ
          ๑. ฝายท้องถิ่น  ก่อสร้างได้ง่ายโดยวัสดุธรรมชาติ  เช่น กิ่งไม้  ท่อนไม้  ขนาบด้วยก้อนหินขนาดต่างๆ ในบริเวณตอนบนของลำห้วยหรือร่องน้ำ  หรือสร้างด้วยท่อนไม้ขนาบด้วยถุงบรรจุทราย  หรือก่อสร้างแบบคอกหมูแกนดินอัดขนาบด้วยหินแบบเรียงหิน  แบบคอกหมูหินทิ้ง  แบบคอกหมูถุงทรายซีเมนต์  แบบหลักคอนกรีตหินทิ้ง  แบบถุงทรายซีเมนต์  แบบคันดิน  แบบหลักไม้ไผ่สานขัดกัน  ซึ่งเป็นรูปแบบฝายดั่งเดิมของชาวบ้าน อาจทำด้วยตนเองหรือระดมแรงลงแขก  เป็นฝายที่มีค่าใช้จ่ายน้อยหรืออาจจะไม่มีเลย


๒. ฝายเรียงด้วยหิน  เรียงก้อนหินเป็นพนังกั้นน้ำบริเวณตอนกลาง  หรือตอนล่างของห้วย หรือร่องน้ำ   ใช้ดักตะกอนและเก็บกักน้ำหน้าแล้ง


๓. ฝายคอนกรีต สร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็กแบบถาวรที่บริเวณปลายลำห้วย  ใช้ดักตะกอนและเก็บกักน้ำได้ดีในฤดูแล้งค่าก่อสร้างประมาณ ๔-๕ หมื่นบาทสำหรับลำห้วยกว้างไม่เกิน ๔ เมตร


          การก่อสร้างฝายกั้นน้ำตามแนวพระราชดำริ
          ๑. สำรวจสภาพพื้นที่  วัสดุธรรมชาติที่จะใช้ก่อสร้าง  กำหนดรูปแบบฝายกั้นน้ำที่เหมาะสมและสัมพันธ์กับภูมิประเทศให้มากที่สุด
          ๒. คำนึงถึงความแข็งแรงของฝาย  ไม่ให้เสียหายหรือพังทลายเมื่อฝนตกหนักหรือกระแสน้ำแรง
          ๓. ก่อสร้างในพื้นที่ที่ช่องลำห้วยลาดชัน  เพื่อให้ฝายมีขนาดพอเหมาะสามารถกักน้ำและตะกอนได้พอสมควร  ในลำห้วยที่มีความลาดชันมากควรสร้างฝายให้ถี่ขึ้น



     ข. การแก้ไขปัญหาน้ำท่วมและภัยแล้ง
          พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  พระราชทานพระราชดำริเป็นแนวทางการบริหารจัดการน้ำท่วมไว้  ๕  รูปแบบ คือ
          ๑. การสร้างคันกั้นน้ำ  จะทำขนานตามลำน้ำ  ห่างจากขอบตลิ่งพอประมาณเพื่อกั้นน้ำที่มีระดับสูงกว่าตลิ่งไม่ให้ไปท่วมพื้นที่สำคัญ
          ๒. การสร้างทางผันน้ำ หรือ ฟลัดเวย์  เป็นการขุดคลองสายใหม่หรือช่องทางระบายน้ำอุทกภัยเพื่อเป็นทางระบายเชื่อมต่อลำน้ำที่มีปัญหาน้ำท่วม  ผันน้ำที่ล้นตลิ่งให้ไหลไปลงลำน้ำสายอื่นหรือระบายออกสู่ทะเล
          ๓. การปรับปรุงสภาพลำน้ำ  เป็นการปรับปรุง  ปรับแต่ง  ขุดลอก  คูคลอง  ตื้นเขินให้ลึกขึ้นให้น้ำไหลสะดวกเร็วขึ้นกว่าเดิม  หรือบริเวณลำน้ำที่มีแนวโค้งมากในลักษณะกระเพาะหมูอาจจะขุดทางน้ำตัดตรงให้น้ำไหลตามทางน้ำที่ขุดใหม่ เช่นคลองลัดโพธิ์


            ๔. การสร้างเขื่อนเก็บกักน้ำ  เป็นการสร้างเขื่อนเก็บกักน้ำระหว่างหุบเขาหรือเนินสูงที่บริเวณต้นน้ำสายใหญ่  เพื่อปิดกักน้ำตามธรรมชาติไว้เหนือเขื่อน  และมีโครงการพระราชดำริแก้มลิงเพิ่มขึ้น  เพื่อเป็นพื้นที่รับน้ำและเก็บกักน้ำ
            ๕. การระบายน้ำออกจากพื้นที่ลุ่ม  เป็นการระบายน้ำออกจากพื้นที่ลุ่มต่ำซึ่งมีน้ำขังอยู่นานหลายเดือนในแต่ละปี  จนไม่สามารถทำการเพาะปลูกได้  การระบายน้ำออกนอกจากจะช่วยแก้ไขปัญหาน้ำท่วมแล้วยังสามารถใช้พื้นที่ให้เกิดประโยชน์ในการเพาะปลูกได้อีกด้วย

                   แก้มลิง   แนวพระราชดำริแก้มลิง  เป็นแนวทางบรรเทาปัญหาน้ำท่วมโดยจัดหาพื้นที่รองรับและเก็บกักน้ำในช่วงฝนตกมีน้ำมาก  และระบายออกในช่วงที่น้ำลดลง  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงนำลักษณะการเก็บอาหารของลิง  เมื่อส่งกล้วยให้จะนำใส่ปากเคี้ยว  และเก็บไว้ที่กระพุ้งแก้ม  ก่อนนำออกมากลืนกินภายหลัง


          ๑. การแก้ไขปัญหาน้ำท่วม ระดับชุมชน    ชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และท้องที่ รวมถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สามารถร่วมกันแก้ปัญหาน้ำท่วม  ตามแนวพระราชดำริได้ คือ
                   ๑) สร้างพื้นที่รับน้ำ  หาพื้นที่รับน้ำเพื่อลดปริมาณน้ำที่จะไหลบ่าลงพื้นที่ล่าง
                   ๒) ดำเนินการเพื่อระบายน้ำออกจากพื้นที่ลุ่ม  คือ งานขุดคลอง หรือ ปรับปรุงคลองระบายน้ำที่มีอยู่  เพื่อให้สามารถระบายน้ำจำนวนมากออกจากพื้นที่  โดยให้ไหลลงสู่แม่น้ำสายใหญ่อย่างสะดวก  จนกระทั่งสามารถใช้พื้นที่นั้นๆ  มาใช้เพาะปลูกได้ในเวลาที่ต้องการ
                   ๓) นอกจากต้องมีการขุดหรือปรับปรุงคลองระบายน้ำดังกล่าวแล้ว  จึงต้องมีการสร้างประตูหรือท่อระบายน้ำเอาไว้ที่ปลายคลองระบายน้ำด้วย  โดยนอกจากจะเป็นการควบคุมการเก็บกักน้ำเอาไว้ใช้ในยามจำเป็นแล้ว  ยังเป็นการป้องกันน้ำจากบริเวณด้านนอกไม่ให้ไหลย้อนเข้าไปในพื้นที่อีกนั่นเอง
                   ๔) อาจต้องพิจารณาสร้างโรงสูบน้ำขนาดใหญ่  เพื่อสูบน้ำภายในพื้นที่ออกทิ้งไปในช่วงเวลาที่ระดับน้ำภายนอกมีระดับสูงอีกด้วย

          ๒. การขุดลอกหนองบึง    ในหลวงได้พระราชทานพระราชดำริว่า “ควรสำรวจหาหนองน้ำธรรมชาติ เพื่อดำเนินการปรับปรุง ให้สามารถเก็บสำรองน้ำฝนได้ตลอดทั้งปี  จะได้เป็นแหล่งเก็บน้ำสำหรับการเพาะปลูก  การอุปโภคบริโภคและการประมง”  “ในท้องที่ซึ่งมีหนองและบึงนั้น  หนองและบึงจะเก็บกักน้ำในฤดูน้ำหลาก  ทำให้มีน้ำใช้ในยามหน้าแล้งเหมือนกับอ่างเก็บน้ำตามธรรมชาติที่มีอยู่แล้ว  เมื่อหนองบึงอยู่ในสภาพตื้นเขินจนใช้การไม่ได้ดังแต่ก่อน  และพื้นที่หลายส่วนถูกยึดครองไปโดยไม่เป็นธรรม  ผลสุดท้ายความทุกข์ยากเนื่องขากการขาดแคลนน้ำของชุมชนนั้นจะต้องเกิดขึ้น  การบูรณะฟื้นฟูแหล่งน้ำตามธรรมชาติต่างๆ ที่ตื้นเขิน  โดยการขุดลอกพัฒนาแหล่งน้ำเหล่านั้นอย่างสม่ำเสมอ  เพื่อสามารถเก็บกักน้ำได้มากขึ้น

          ๓. การขุดสระเก็บน้ำ ตามทฤษฎีใหม่    สระเก็บน้ำเป็นแหล่งเก็บน้ำฝน  น้ำท่า  หรือน้ำที่ไหลออกมาจากดิน  ทำได้โดยการขุดดินให้เป็นสระสำหรับเก็บขังน้ำ  ซึ่งส่วนใหญ่มักเป็นสระที่มีความจุน้อย  นิยมสร้างในท้องที่ซึ่งไม่มีแหล่งน้ำธรรมชาติ  หรือท้องที่ที่ไม่เอื้ออำนวยให้ทำการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำ  เมื่อขุดสระเก็บน้ำแล้ว  ย่อมสามารถเก็บขังน้ำที่มีมากในฤดูฝนเอาไว้ได้จนกระทั่งเมื่อถึงฤดูแล้ง  ก็สามารถนำน้ำในสระมาใช้อุปโภคบริโภคและทำการเกษตรผสมผสานได้เป็นอย่างดี

          ๔. ฝนหลวง  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงริเริ่มขึ้นเพื่อแก้ปัญหาภัยแล้ง  ฝนทิ้งช่วงและฝนไม่ตกในพื้นที่เกษตรกรต้องการ  ภายหลังยังช่วยบรรเทาปัญหาไฟป่าและหมอกควันปกคลุม  หน่วยงานที่รับผิดชอบ คือ  สำนักฝนหลวงและการบินเกษตร  กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ หากมีปัญหาดังกล่าวข้างต้น สามารถประสานขอฝนหลวงผ่านทางสำนักงานเกษตรและสหกรณ์อำเภอ หรือ ที่สนามบิน จ.แพร่ และ สนามบิน จ.เชียงใหม่


        ค. การแก้ไขปัญหามลพิษทางน้ำ
          ทฤษฎีและวิธีการที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานพระราชดำริให้ดำเนินการเพื่อแก้ไขปัญหามลพิษทางน้ำ  ประกอบด้วย
          ๑. น้ำดีไล่น้ำเสีย  คือ การทำให้เจือจางโดยใช้น้ำคุณภาพดีช่วยบรรเทาน้ำเน่าเสีย  เป็นการนำระบบการเคลื่อนไหวของน้ำตามธรรมชาติมาจัดระเบียบแบบแผนขึ้นใหม่  นับเป็นการจัดการทรัพยากรธรรมชาติในเชิงอนุรักษ์  ควบคู่ไปกับการพัฒนาที่เรียบง่ายอย่างได้ผลดี  โดยให้ใช้น้ำที่มีคุณภาพดีจากแม่น้ำหรือแหล่งน้ำภายนอกส่งเข้าไปยังแหล่งน้ำของชุมชนภายในเมืองตามคลองต่างๆ  หรือแหล่งที่น้ำเสีย  เพื่อให้น้ำดีจากแม่น้ำช่วยผลักดันและเจือจางน้ำเน่าเสียออกจากแล่งชุมชนต่างๆ
          ๒. กังหันน้ำชัยพัฒนา  เป็นการบำบัดน้ำเน่าเสียด้วยระบบการเติมอากาศ กังหันน้ำชัยพัฒนา หรือเครื่องกลเติมอากาศที่ผิวน้ำหมุนช้าแบบทุ่นลอย  เป็นอุปกรณ์บำบัดน้ำเสียชนิดหนึ่งมีลักษณะการทำงานคล้ายกังหันวิดน้ำขึ้นเหนือผิวน้ำเพื่อเติมอากาศหรือออกซิเจนในแหล่งน้ำ  เกิดขึ้นในช่วงที่ประเทศไทยเริ่มเผชิญปัญหาน้ำเสีย  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงศึกษาและประดิษฐ์อุปกรณ์เติมอากาศขึ้นเมื่อ พ.ศ.๒๕๓๑  แล้วทรงมอบหมายมูลนิธิชัยพัฒนาศึกษาวิจัย เพื่อทำต้นแบบพร้อมสนับสนุนงบประมาณให้กรมชลประทานสร้าง  นำไปใช้งานตามแหล่งน้ำเสียทั่วประเทศ  กรมทรัพย์สินทางปัญญาได้ทูลเกล้าฯ ถวายการจดสิทธิบัตรการประดิษฐ์เลขที่ ๓๑๒๗ และองค์กรนักประดิษฐ์โลกจากประเทศเบลเยี่ยมได้ทูลเกล้าถวายรางวัลในฐานะที่ทรงสร้างนวัตกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อการรักษาสิ่งแวดล้อม
(สามารถศึกษารายละเอียดแบบการทำได้ที่ http://job.haii.or.th/wiki84new/index.php/ค-เครื่องกลเติมอากาศ


          ๓. การบำบัดน้ำเน่าเสียโดยวิธีธรรมชาติ  เช่น การบำบัดน้ำเสียด้วยระบบพื้นที่ชุ่มน้ำเทียม การบำบัดน้ำเสียด้วยระบบหญ้ากรองน้ำเสีย โดยการปลูกกกธูป
          ๔. การกรองน้ำเสียด้วยผักตบชวา  ผักตบชวามีคุณสมบัติในการดูดสารพิษ สารเคมีและโลหะหนักที่อยู่ในน้ำได้ดี  โดยปลูกผักตบชวาในคอกไม้ที่กั้นขวานลำน้ำเป็นระยะ  และผักตบชวาเหล่านี้จะถูกเก็บขึ้นเป็นครั้งคราวเพื่อนำไปใช้ประโยชน์  คือ ทำปุ๋ย หรือ เชื้อเพลิงตามความเหมาะสม  ผักตบชวาเป็นเสมือน “ไตธรรมชาติ”  ที่ทำหน้าที่เก็บกักน้ำและฟอกน้ำเสีย


          จากแนวทาง “ศาสตร์ของในหลวง” ใน “การอยู่กับสายน้ำ” พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงทุ่มเทกำลังพระวรกายตลอดจนกำลังพระราชหฤทัยเพื่อทรงหาวิธีการป้องกันและแก้ไขมาตลอดระยะเวลา ๖๕ ปี แห่งการครองราชย์  ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อประชาชนที่จะนำมาปรับใช้  เพื่อที่จะได้ อยู่กับสายน้ำ ได้อย่างปกติสุข

การเตรียมรับการประเมินคุณภาพภายนอก จาก สมศ. รอบสาม


วันจันทร์ที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

อาสายุวกาชาด เครื่องมือเสริมสร้างคุณธรรมและจิตอาสาสู่เยาวชน


การจัดการศึกษาของ กศน.อำเภอศรีสำโรง ภายใต้ปรัชญา "ฝึกฝนและพัฒนาตน ชุมชนเป็นฐานการเรียนรู้" และวิสัยทัศน์การพัฒนาการจัดการศึกษา "สร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ สู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดี" ซึ่งเป้าหมายในการจัดการศึกษาที่มุ่งหวังให้ผู้เรียนมีระดับการศึกษาที่สูงขึ้นแล้ว การเสริมสร้างคุณธรรมเป็นอีกเรื่องสำคัญที่สถานศึกษาบ่มเพาะให้กับผู้เรียนตลอดระยะเวลาที่เข้ามาศึกษาเล่าเรียนในสถานศึกษาแห่งนี้



              กศน.มีกลุ่มเป้าหมายที่หลากหลายทั้งทางด้านอาชีพ ประสบการณ์ และวัย การจัดกิจกรรมที่สอดคล้องเหมาะสมกับผู้เรียนแต่ละกลุ่มจึงมีความสำคัญเพื่อการส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาตนตามปรัชญาที่ตั้งไว้ กลุ่มเยาวชนเป็นกลุ่มเป้าหมายกลุ่มหนึ่งของ กศน.อำเภอศรีสำโรง ซึ่งเป็นเยาวชนที่พลาดและขาดโอกาสทางการศึกษา ทั้งด้วยสาเหตุของความยากจน ต้องประกอบอาชีพเพื่อหาเลี้ยงชีพ ความไม่พร้อมในการเรียนในระบบโรงเรียน ความผิดพลาดเพราะการขาดทักษะในชีวิต เป็นต้น ทำให้ต้องผันตัวเองมาเรียนกับ กศน. การพัฒนาทักษะชีวิตให้กับเยาวชนเหล่านี้ จึงเป็นเรื่องจำเป็นเพื่อนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีในโอกาสต่อไป




                 กศน.อำเภอศรีสำโรง จ.สุโขทัย มุ่งเน้นในเรื่องการพัฒนาทักษะชีวิตให้กับผู้เรียนโดยเฉพาะเยาวชน เพื่อให้มีทักษะในการป้องกันชีวิตและสุขภาพ การเสริมสร้างคุณธรรมเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องปลูกฝังควบคู่กันไปผ่านกิจกรรมการเรียนรู้ต่างๆ ให้นำไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม



                 "ชมรมอาสายุวกาชาด" ถูกเลือกขึ้นมาเพื่อทำหน้าที่ในเรื่องดังกล่าวข้าวต้น เพราะเล็งเห็นแล้วว่า กิจกรรมชมรมอาสายุวกาชาด "หลักสูตรพื้นฐาน" มีประโยชน์ต่อกลุ่มเยาวชน ทั้งในด้าน "ความรู้" เช่น ความรู้เรื่องกาชาด การกาชาด ที่นำไปสู่ความมี "จิตอาสา" ของเยาวชน "ความรู้เพื่อชีวิต Fact for life" "การปฐมพยาบาล" ความรู้ตาม "แก่นหลักของสภากาชาดไทย" เป็นเรื่องที่ช่วยฝึก "ทักษะแก่เยาวชนในการป้องกันชีวิตและสุขภาพ" "กิจกรรมสัมพันธภาพ กิจกรรมนันทนาการ" ช่วยให้เยาวชนมีทักษะ "การอยู่ร่วมกันอย่างเป็นมิตรและมีสันติสุข" รวมถึงการสร้าง "วินัย" ให้กับเยาวชน



                  นอกจากนี้ หลักสูตรต่อเนื่องที่จัดกิจกรรมกับชมรมอาสายุวกาชาด หลังจากผ่านการอบรมหลักสูตรพื้นฐานแล้ว ได้แก่ การปฐมพยาบาล การดูแลผู้สูงอายุ กิจกรรมพัฒนาชุมชน การบำเพ็ญประโยชน์และอื่นๆ ช่วยให้เยาวชนได้รู้จักการทำเพื่อคนอื่น การทำเพื่อสังคม รู้จัก "การเสียสละ" "การเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่กัน" "การช่วยเหลือผู้ตกทุกข์ได้ยาก" ซึ่งนำไปสู่ความมีจิตอาสา ของเยาวชน 



                      กิจกรรมครั้งล่าสุดที่เยาวชนจากชมรมอาสายุวกาชาดออกมาบำเพ็ญประโยชน์ "ช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม" ที่จังหวัดสุโขทัย กองทัพมดเล็กๆ ที่เป็นส่วนหนึ่งของการช่วยเหลือ การเข้าไปช่วยแจกข้าวแจกน้ำให้กับผู้ป่วย ผู้สูงอายุ และเด็กที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ ในซอยลึกๆ ที่ความช่วยเหลือเข้าไปไม่ค่อยถึง การช่วยบรรจุกล่องข้าว การกรอกกระสอบทราย ตลอด 3 วันที่อาสายุวกาชาดเหล่านี้เข้าไปช่วยอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย ความมีวินัย การตรงต่อเวลา ที่ได้แสดงออกมา เป็นผลมาจากการจัดกิจกรรมชมรมอาสายุวกาชาด เครื่องมือที่สร้างคุณธรรมและจิตอาสาสู่เยาวชน



  "ภูมิใจครับ ที่ได้มาช่วยน้ำท่วมครั้งนี้ " เป็นคำพูดของ "น้องอั้ม และน้องนนท์" "ดีใจค่ะ ที่เห็นชาวบ้านดีใจเมื่อได้รับการช่วยเหลือจากเรา เป็นคำพูดของ "น้องแพรว" คำพูดจากใจเหล่านี้ เป็นคำพูดที่ตอบเราเมื่อถูกถามว่า "ได้อะไรบ้างจากการมาช่วยน้ำท่วมคราวนีิ้" ระหว่างนั่งรถกลับบ้านในเวลาพลบค่ำ ซึ่งในฐานะครูแล้วรู้สึกภูมิใจ ที่กิจกรรมนี้ได้บ่มเพาะเข้าไปอยู่ในใจของเยาวชนกลุ่มนี้แล้ว เราได้เห็นความมี "คุณธรรมและจิตอาสา" เชิงประจักษ์แล้ว และยอมรับว่าดีใจที่เลือกกิจกรรม "อาสายุวกาชาด เป็นเครื่องมือเสริมสร้างคณธรรมและจิตอาสาสู่เยาวชน"



ความคิดเห็นจาก facebook