วันจันทร์ที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ( AEC)

อาเซียนได้ให้ความสำคัญในการเสริมสร้างความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจร่วมกันอย่างต่อเนื่อง หลังจากได้ดำเนินการจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน หรือ อาฟตา (AFTA: ASEAN Free Trade Area) ในปี 2546 ที่ประชุมสุดยอดอาเซ๊ยน (ASEAN Summit) เห็นชอบให้อาเซียนกำหนดทิศทางการดำเนินงานเพื่อมุ่งไปสู่การเป็น ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community: AEC) ซึ่งมีกำหนดแล้วเสร็จและมีผลใช้บังคับอย่างเป็นทางการภายในปี ค.ศ. 2015 หรือ พ.ศ. 2558



สิ่งที่จะเกิดขึ้น คือ ประเทศในกลุ่มอาเซียนหรือเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คือไทยและประเทศเพื่อนบ้านจะรวมตัวกันเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียว เหมือนกลุ่มประเทศ EU ของยุโรป ผลที่เกิดขึ้น คือ จะมีการไหลเวียนเคลื่อนย้ายไปมาอย่างเสรี (free flow) ของปัจจัยการค้าภายในกลุ่มประเทศอาเซียน ดังต่อไปนี้
1. สินค้า
2. บริการ
3. การลงทุน
4. เงินทุน
5. แรงงานฝีมือ
ภายใต้ "ประชาคมอาเซียน" ผู้ประกอบการจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนแนวคิดในการบริหารจัดการใหม่เพื่อใช้ประโยชน์จากการที่ปัจจัยการผลิตสามารถเคลื่อนย้ายได้อย่างเสรี ต้องมีการปรับเปลี่ยนยุทธศาสตร์ในการบริหารจัดการที่เดิมเคยจำกัดเฉพาะในประเทศของตนมาเป็นการผลิตข้ามประเทศ ต้องปรับเปลี่ยนยุทธวิธีในการทำธุรกิจโดยต้องแสวงหาพันธมิตรทางธุรกิจในภูมิภาค ซึ่งจะเป็นการช่วยให้มีการผลิตอย่างมีประสิทธิภาพ และที่สำคัญคือต้องรีบจัดทำแผนทางธุรกิจใหม่เพื่อรองรับกับโอกาสที่ปัจจัยการผลิตสามารถเคลื่อนย้ายได้อย่างเสรี



ประเทศไทยถือว่ามีจุดยุทธศาสตร์ที่ดีในกลุ่มประเทศอาเซียน เพราะเป็นทำเลที่ตั้งอยู่ศูนย์กลางของอาเซียน ทำให้ไทยมีศักยภาพที่จะเป็น Hub of ASEAN ได้ไม่ยาก ทรัพยากรธรรมชาติ และแหล่งท่องเที่ยวที่สมบูรณ์ที่สำคัญไม่ได้อยู่ในแนววงแหวนแห่งไฟเหมือนประเทศเพื่อนบ้านอื่น ๆ เช่น ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย บรูไน สิงคโปร์ มาเลเซีย ที่จะมีความเสี่ยงเรื่องแผ่นดินไหว




ผู้ประกอบการไทยต้องเตรียมความพร้อมเพื่อจะรองรับการปรับเปลี่ยนโครงสร้างทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะความพร้อมของ "ทุนมนุษย์" (human capital: HC) ที่ต้องมีคุณสมบัติใหม่ที่สอดคล้องกับการแข่งขันทางการค้าในบริบทของเศรษฐกิจใหม่ และการสร้าง "ทุนทางปัญญา" (intellectual capital: IC) ซึ่งเป็นที่มาของความมั่งคั่งใหม่ (new wealth) ในยุคเศรษฐกิจแห่งนวัตกรรมและสังคมแห่งการสร้างสรรค์ (innovative economy & creative society)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ความคิดเห็นจาก facebook